วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน 2021
  • Login
กฏหมายเพื่อประชาชน
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact
No Result
View All Result
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact
No Result
View All Result
กฏหมายเพื่อประชาชน
No Result
View All Result
Home กฏหมายควรรู้

รัฐธรรมนูญ

by กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ
in กฏหมายควรรู้, กฏหมายทั่วไป, บทความ
1 min read
0
ADVERTISEMENT

กฏหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ประเทศไทยแต่เดิมนั้น อำนาจในการปกครองแผ่นดินเป็นสิทธิขาดของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว หรือที่เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะราษฎร” ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมารัฐธรรมนูญกลายเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ แม้จะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสภาวะการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 ลักษณะทั่วไปของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ถ้ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะ ใช้บังคับไม่ได้ เมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน

 

หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ

  1. ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิและเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
  2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมายได้
  3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจ

สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

  • สิทธิ (Right) หมายถึง   ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
  • เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจกลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
  • หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย

  1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุนกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
  2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ   หรือภาพไปสู่สาธารชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่ในบ้านแล้วนำไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้านเป็นสถานที่อยู่อาศัยสามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน แม้แต่อำนาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัยในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
  4. เสรีภาพในการเดินทาง   และเลือกถิ่นที่อยู่   ประชาชนมีสิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพนี้
  5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสารถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทำวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาตให้ทำได้
  6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
  7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐธรรมนูญห้ามเกณฑ์แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ เช่น ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
  8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐธรรมนูญส่งเสริมทางทำงานวิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  10. เสรีภาพในการชุมชน   การชุมนุมที่กระทำได้ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
  11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
Tags: กฏหมายรัฐธรรมนูญ
ShareTweetShare
ADVERTISEMENT
กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่จัดทำขึ้นนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกระทำความผิด และมีมุมมองที่ว่า "กฎหมาย...ไม่วุ่นวายอย่างที่คิด" เพราะที่ผ่านมาเมื่อได้ยินคำว่ากฏหมาย คนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากจนไม่อยากเรียนรู้ แต่ความเป็นจริงแล้วการใช้ชีวิตของทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยไม่รู้ตัวและกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราเป็นอย่างมาก

Related Posts

ใบกํากับภาษีปลอม ซื้อขาย โทษหนัก ปรับจริง ติดคุกยาว
กฏหมายควรรู้

ใบกํากับภาษีปลอม ซื้อขาย โทษหนัก ปรับจริง ติดคุกยาว

มกราคม 6, 2020
ออกจากงาน อยากส่งเงินประกันสังคมต่อ ทำอย่างไร
กฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจ

ออกจากงาน อยากส่งเงินประกันสังคมต่อ ทำอย่างไร

พฤศจิกายน 19, 2019
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ประกาศเปลี่ยนแปลง-ยกเลิกเที่ยวบิน
บทความ

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ประกาศเปลี่ยนแปลง-ยกเลิกเที่ยวบิน

พฤศจิกายน 7, 2019
หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฏหมาย
บทความ

หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฏหมาย

พฤศจิกายน 2, 2019
ค่าปรับขับขี่บนทางเท้า
กฏหมายควรรู้

ค่าปรับขับขี่บนทางเท้า

พฤศจิกายน 2, 2019
ความสำคัญของกฎหมาย
บทความ

ความสำคัญของกฎหมาย

พฤศจิกายน 2, 2019
Load More
Next Post
ความสำคัญของกฎหมาย

ความสำคัญของกฎหมาย

สำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

กรมคุมประพฤติ

By Categories

  • กฏหมายควรรู้ (552)
    • Infographic (98)
    • กฏหมายจราจร (44)
    • กฏหมายทั่วไป (188)
    • กฏหมายลิขสิทธิ์ (5)
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (4)
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี (61)
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง (38)
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่ (59)
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน (8)
    • กฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจ (2)
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน (12)
    • กฏหมายแรงงาน (8)
  • ข่าว (30)
  • คำพิพากษา (12)
    • คำพิพากษาศาลฎีกา (12)
  • ตัวบทกฏหมาย (621)
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา (16)
    • พระราชกำหนด (1)
    • พระราชบัญญัติ (33)
  • บทความ (20)
    • ราชทัณฑ์ (1)
  • ผู้ต้องขัง (2)
  • วีดีโอ (26)
    • ยุติธรรม (2)
    • ราชทัณฑ์ (24)
  • หน่วยงานราชการ (95)

เรื่องล่าสุด

  • ทนายอนันต์ชัย-ตัวแทน 7 องค์กรคนพิการ ยื่นหนังสือ ผบ.ตร. ปมถูก ‘ปารีณา’ แจ้งหมิ่นประมาท
  • มจพ. ร่วมกับ GTCC พัฒนาหลักสูตร Industrial Meister สู่มาตราฐานเยอรมัน
  • สุเทพ เชิดหน้า รับวิบากกรรม คดีกบฏ กปปส. ลั่น ไม่คิดหนี
  • รวบแก๊งทวงหนี้ หลัง ข่มขู่แม่บ้านที่ติดหนี้ จนไปผูกคอตาย
  • ศาลสั่ง บริษัท ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ (ประเทศไทย) ล้มละลาย
กฏหมาย ศาล อัยการ ทนาย คุก

เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นเว็บที่ได้รวบรวมเอา ข้อมูล ทางด้าน กฏหมาย ของไทยมาไว้ด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การค้นหาข้อมูล ข้อมูลกฏหมายไทยนี้ เหมาะสำหรับทุกคนที่ สนใจใน กฏหมายไทย

ผิดพลาดพรั้งไป ขออภัยในความไม่สะดวก ติ/ชม แนะนำข้อมูลได้ที่หน้า ติดต่อเรา ได้ครับ

กฏหมายไทย / Thailand Law

  • ทนายอนันต์ชัย-ตัวแทน 7 องค์กรคนพิการ ยื่นหนังสือ ผบ.ตร. ปมถูก ‘ปารีณา’ แจ้งหมิ่นประมาท
  • มจพ. ร่วมกับ GTCC พัฒนาหลักสูตร Industrial Meister สู่มาตราฐานเยอรมัน
  • สุเทพ เชิดหน้า รับวิบากกรรม คดีกบฏ กปปส. ลั่น ไม่คิดหนี
  • รวบแก๊งทวงหนี้ หลัง ข่มขู่แม่บ้านที่ติดหนี้ จนไปผูกคอตาย
  • ศาลสั่ง บริษัท ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ (ประเทศไทย) ล้มละลาย

Social Network

คำนิยม

110 ปี190219091913191419161918192119231926192819291930193119321933193419351936
  • Thailand Law
  • Help
  • Privacy Policy
  • About
  • Contact

© 2020 Thailand Law กฏหมายเพื่อประชาชน สงวนลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด.

No Result
View All Result
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact

© 2020 Thailand Law กฏหมายเพื่อประชาชน สงวนลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms bellow to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
error: Content is protected !!