สินมั่นคงประกันภัย แจ้งไทม์ไลน์กระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการใหม่ คาดศาลล้มละลายฯมีคำสั่งฟื้นฟูฯต้นเดือน ต.ค. 65 จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นให้เจ้าหนี้พิจารณาภายใน 3 เดือน หลังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนลงในราชกิจจานุเบกษา คาดยื่นแผนฟื้นฟูฯได้เดือน มี.ค. 66 ประชุมเจ้าหนี้ลงมติเดือน พ.ค. 66 ศาลพิจารณาแผนอีกชั้นหนึ่งในเดือน มิ.ย. 66
วันที่ 23 สิงหาคม 2565 บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK ได้จัดประชุมให้ข้อมูลแก่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถึงความคืบหน้าการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ หลังจากเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2565 ศาลล้มละลายฯได้มีการนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และภายในวันนัดได้กำหนดแนวทางพิจารณาและการไต่สวน โดยกำหนดเพื่อสืบพยานทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ผู้คัดค้านรวมทั้งสิ้น 4 นัด คือวันที่ 6, 9, 16 และ 20 ก.ย. 2565
- ก้อง สหรัถ โค้ชตัวพ่อ ทำธุรกิจอะไรบ้าง หลังเปิดบ้านหรูริมน้ำ 50 ล้าน
- เปิดศึกแย่งโชห่วย 4 แสนร้าน บิ๊กซี-โลตัส-แม็คโครไล่บี้ “ถูกดี” ค่ายตะวันแดง
- ไทยพาณิชย์ ช่วยค่าครองชีพพนักงาน 4 พันบาท โอนเข้าบัญชี 1 ก.ย.
ต้น ต.ค. คาดศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
ด้านนางสาวปะราลี เตชะจงจินตนา ทนายความหุ้นส่วน บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด (Baker McKenzie) ในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย SMK เปิดเผยว่า กำหนดการนัดสุดท้ายในการสืบพยานทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ผู้คัดค้านคือวันที่ 20 ก.ย. 2565 ฉะนั้นคาดการณ์ว่าหากเป็นไปตามกระบวนการปกติ โดยประสบการณ์แล้วศาลล้มละลายฯก็น่าจะมีคำสั่งให้บริษัทสินมั่นคงประกันภัยฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะอยู่ในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2565
จากนั้นทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนลงในราชกิจจานุเบกษา โดยระยะเวลา 3 เดือนนับจากประกาศคำสั่งทางผู้ทำแผน (บริษัทสินมั่นคงประกันภัย) จะต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นให้เจ้าหนี้ได้พิจารณา ในขณะเดียวกันบรรดาเจ้าหนี้ก็จะมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่มีประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนลงทุนลงในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้การยื่นแผนตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องทำภายใน 3 เดือน ขอขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เดือน ดังนั้นโดยจากการประมาณการคาดว่าจะสามารถยื่นแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เจ้าหนี้ได้พิจารณาว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะมีทั้งการปรับโครงสร้างทุน การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ให้ลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และเป็นทางเดียวที่บริษัทสินมั่นคงประกันภัยจะดำเนินการจ่ายชำระหนี้ค่าสินไหมต่าง ๆ ให้กับผู้เอาประกันตามแผนฟื้นฟูกิจการได้
คาดการณ์ว่าแผนฟื้นฟูจะยื่นได้ในช่วงเดือน มี.ค. 2566 จากนั้นจะเป็นกระบวนการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะมีการเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ได้พิจารณาและลงมติในแผนฟื้นฟูกิจการที่บริษัทสินมั่นคงประกันภัยได้ยื่นให้เจ้าหนี้พิจารณา โดยคาดการณ์ว่าการประชุมและลงมติของเจ้าหนี้น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน พ.ค. 2566
และถ้าหากเป็นไปอย่างเรียบร้อย เจ้าหนี้พิจารณาแล้วเห็นพ้องด้วยกับแนวทางการฟื้นฟูกิจการตามแผน เจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จากนั้นกระบวนการที่ศาลจะพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทสินมั่นคงประกันภัยอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าแผนฟื้นฟูกิจการเป็นแผนที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นแผนที่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกราย โดยคาดการณ์ว่าเหตุการณ์น่าจะเป็นในช่วงเดือน มิ.ย. 2566
และหลังจากศาลฯมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว จากนั้นบริษัทสินมั่นคงประกันภัยก็จะสามารถดำเนินการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไปได้ “กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกรอบระยะเวลากฎหมาย จริง ๆ แล้วไม่ได้ใช้เวลานานมาก เราจะเห็นแผนชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 อยากให้เจ้าหนี้ทุกท่านอดทนรอดูแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของบริษัทสินมั่นคงประกันภัน” นางสาวปะราลีกล่าว
แบกหนี้ 3 หมื่นล้าน ย้ำผู้ร่วมทุนยังสนใจ
ด้านนายสุริยนต์ เจริญเศรษฐกุล รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกรรมการผู้จัดการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและการดำเนินธุรกิจในอนาคต ว่า ประเด็นแรกคือแนวทางการชำระหนี้สินไหมประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ ซึ่งปัจจุบันมีเคลมสินไหมคงค้างกว่า 350,000 เคลม มูลหนี้ค่าสินไหมรวม 30,000 ล้านบาท ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เพื่อชำระหนี้สินไหมโควิด และเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 2.เป็นเงินทุนเพื่อทำให้อัตราส่วนเงินกองทุน(CAR) เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้เมื่อปี 2564 บริษัทได้จัดหาผู้ร่วมทุนใหม่ และปัจจุบันคัดเลือกผู้สนใจเหลือ 3 ราย คือนักลงทุนสัญชาติเอเชีย 1 ราย และนักลงทุนสัญชาติยุโรป 2 ราย ที่รอการเจรจากับบริษัท ภายหลังมีความชัดเจนในการปรับโครงสร้างหนี้สินไหมโควิดว่าจะออกมาในรูปแบบใด
โดยหลังจากศาลล้มละลายฯมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว บริษัทจะกลับไปพูดคุยกับนักลงทุนอีกครั้ง เพื่อสรุปตัวเลขหรือแนวทางที่จะร่วมทุนกันและนำเงินมาชำระหนี้
นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศอีก 2 รายที่ติดต่อแสดงเจตนาสนใจร่วมทุน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจะเปิดเผยชื่อให้รับทราบต่อไป
ส่วนแนวทางการชำระหนี้ค่าสินไหมโควิด 30,000 ล้านบาท ซึ่งค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นต้องมีการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือปรับแนวทางการชำระหนี้ร่วมกัน รวมไปถึงอาจจะแปลงหนี้ส่วนหนึ่งเป็นทุน ซึ่งคงเป็นขั้นตอนของการเจรจาร่วมระหว่างเจ้าหนี้ผู้เอาประกันโควิดและนักลงทุนด้วย ว่าทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกฝ่ายควรจะเป็นทางเลือกไหนในการปรับโครงสร้างหนี้
สุดท้ายบริษัทคงจะต้องปรับโครงสร้างภายในและกลยุทธ์พอสมควร เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเพื่อเดินธุรกิจต่อไปให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และรองรับผู้ลงทุนรายใหม่
“ปัจจัยชี้วัดที่อาจจะมีผลให้การฟื้นฟูไม่สำเร็จคือ 1.ความร่วมมือเจ้าหนี้เพื่อหาแนวทางออกร่วมกันในการชำระหนี้ เพราะแผนฟื้นฟูฯต้องโหวตโดยเจ้าหนี้ 2.ความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุน 3.กฎระเบียบภายใต้ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย และเข้าฟื้นฟูภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย ตลอดจนคำสั่งหรือความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ความเชื่อมั่นผู้เอาประกัน ตัวแทนนายหน้าและคู่ค้าต่าง ๆ และแนวโน้มเศรษฐกิจและการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัย” นายสุริยนต์กล่าว
- สินมั่นคงประกันภัย ศาลเลื่อนนัดไต่สวนนัดแรกเป็น 6 ก.ย. เจ้าหนี้คัดค้านพุ่ง 3 พันราย
- สินมั่นคง เปิดไทม์ไลน์ฟื้นฟูกิจการ คาดใช้เวลาราว 1 ปี “แผนฟื้นฟูฯ” ผ่าน
-
สินมั่นคง ตอบคำถาม ลูกค้าประกันจะได้เงินครบตามทุนประกันหรือไม่ ?