ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงคำขอท้ายฟ้อง จะขอแก้ไขคำพิพากษาไม่ได้ ต้องอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไข ⚖️
📣 คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 6087/2551
ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบถ้วน มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีความคำพิพากษาไม่ได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ป.วิ.พ.มาตรา 143
ท่านทนายความอย่ามัวแต่ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาให้ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง เพราะท่านต้องใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันได้อ่านคำพิพากษา
🔹 ขอแก้ไขคำพิพากษาได้เฉพาะข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจากโฉนดเลจที่ 82498 เป็น 82489 ขอแก้ได้ ฎีกา 9061/2550
🔹 คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ ฏีกา 1588/2543
🔹 ค่ารักษามีจำนวน 753,467 บาท พิพากษา 758,467 บาทศาลฏีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ ฎีกา 8467/2559
ท่านทนายความ ในคำฟ้องต้องอ้างเอกสารประกอบข้อเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชอบให้ครบทุกข้อเรียกร้อง ป้องกันการพิมพ์ฟ้องผิดพลาด และป้องกันเรื่องการนำส่งเอกสารให้แก่คู่ความล่วงหน้าตามกฏหมายฯลฯ ทั้งนี้ท่านทนายจะมีเหตุผลในการขอแก้และเพิ่มฟ้องได้ค่ะ
หมายเหตุ ช่วงนี้ประเทศเรากำลังอยู่ในวิกฤษโรคโควิด-19 มีการประกาศเคอร์ฟิว ท่านทนายหากมีปัญหาในการดำเนินคดี อย่าลืมนำป.วิ.พ.มาตรา 10,23,40,41 ฯลฯมาใช้ค่ะ
เครดิต : แอดมินกลุ่ม”เพื่อนนักกฏหมายไทย” >> สุวดี/หนุ่ม นิติ/ต่อ ณัฐพงศ์/บัลลังก์