วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2022
  • Login
กฏหมายเพื่อประชาชน
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact
No Result
View All Result
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact
No Result
View All Result
กฏหมายเพื่อประชาชน
No Result
View All Result

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์

by กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ
in ตัวบทกฏหมาย
Reading Time: 4min read
0
ADVERTISEMENT

กฎมณเฑียรบาล

ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล 2467 พรรษา ปัตยุบันสมัย พฤศจิกายนมาส ทสมสุรทิน จันทวาร กาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงศ อติศัยพงศวิมลรัตนวรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูรสันตติวงศวิศิษฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอติเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค มหาชโนตตะมางคประณต บาทบงกชยุคลประสิทธิสรรพศุภผล อุดมบรมสุขุมาลย ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษบุริมศักดิสมญาเทพทวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน อัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินทร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตรฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณ มหาบรม ราชาภิเศกาภิสิตสรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ อดุลยศักดิอรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหา     รัษฎาธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระอนุสรคำนึงถึงการสืบราชสันตติวงศ์ ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามย่อมทรงพระบรมเดชานุภาพโดยบริบูรณ์ และทรงมีสิทธิอำนาจที่จะทรงเลือกตั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงพระราชดำริว่ามีพระปรีชาสามารถอาจเปนผู้สืบราชสันตติวงศ์ ดำรงราชตระกูล และรัฐสีมาอาณาจักร อารักษ์พสกนิกรสนองพระองค์ต่อไปได้นั้น ขึ้นเปนพระรัชทายาท โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเสนามาตย์ราชเสวกบริพาร อีกทั้งสมณพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎรให้ทราบทั่วกัน ว่าได้ทรงเลือกสรรพระบรมวงศ์พระองค์นั้นเปนพระรัชทายาท และบางทีก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปราชาภิเษกหรือยุพราชาภิเษกด้วย   ราชประเพณีนี้ย่อมเปนสิ่งซึ่งสมควรแก่พระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้

แต่ก็ได้เคยมีมาแล้วในอดีตสมัยและอาจมีได้อีกในอนาคตสมัย ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเลือกและประดิษฐานพระรัชทายาทขึ้นไว้อย่างเช่นที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเปนผลให้บังเกิดมีเหตุยุ่งยากแก่งแย่งกันขึ้นในเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลง การแก่งแย่งช่วงชิงพระราชอำนาจกันย่อมเปนโอกาสให้บุคคลผู้มิได้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติคิดขัดขวางต่อทางเจริญแห่งราชอาณาจักร ทั้งเปนโอกาสให้ศัตรูทั้งภายนอกภายในได้ใจคิดประทุษร้ายต่อราชตระกูล และอิสรภาพแห่งประเทศสยาม นำความหายนะมาสู่ชาติไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระอนุสรคำนึงถึงข้อความเหล่านี้   จึงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีนิติธรรมกำหนดการสืบราชสันตติวงศ์ขึ้นไว้ เพื่อจะได้ตัดความยุ่งยากแก่งแย่งกันภายในพระราชวงศ์ในเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงตั้งแต่งพระรัชทายาทขึ้นไว้โดยแน่นอน ดังกล่าวมาแล้วข้างบนนี้

อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามควรต้องทรงเปนผู้ที่อาณาประชาชนมีความเคารพนับถือ และไว้วางใจได้โดยบริบูรณ์ทุกสถาน ฉะนั้นจึงทรงพระราชดำริว่า พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดมีข้อบกพร่องสำคัญบางอย่างในพระองค์แล้ว ก็ไม่ควรให้อยู่ในเกณฑ์สืบราชสันตติวงศ์ เพราะอาจจะเปนเหตุให้บังเกิดความไม่เรียบร้อยหรือเดือดร้อนแก่อาณาประชาชนได้หรืออาจถึงแก่นำความหายนะมาสู่ราชตระกูลและราชอาณาจักรได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งอยู่ในพระอัปปะมาทธรรม และได้ทรงพระราชดำริพิจารณาโดยสุขุมแล้ว   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลไว้เปนหลักฐานแถลงราชนิติธรรม ดังต่อไปนี้

 

หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและกำหนดใช้กฎมณเฑียรบาลนี้

มาตรา 1 กฎมณเฑียรบาลนี้ให้เรียกว่า “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467”

มาตรา 2(1) ให้ใช้กฎมณเฑียรบาลนี้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนพระพุทธศักราช 2467 เปนต้นไป

มาตรา 3 ข้อความใด ๆ ที่มีอยู่ในพระราชกำหนดกฎหมายอื่น ๆ   ที่แย้งกับข้อความในกฎมณเฑียรบาลนี้ ให้ยกเลิกเสียทั้งสิ้น

 

หมวดที่ 2 บรรยายศัพท์

มาตรา 4 ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกฎมณเฑียรบาลนี้ ท่านว่าให้บรรยายไว้ดังต่อไปนี้

(1) “พระรัชทายาท” คือ เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมุติขึ้น เพื่อเปนผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป

(2) “สมเด็จพระยุพราช” คือ พระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเปนตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

(3) “สมเด็จหน่อพุทธเจ้า” คือ สมเด็จพระบรมราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอัครมเหสี

(4) “สมเด็จพระอัครมเหสี” คือ พระชายาหลวงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่ปรากฏ ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ทรงสถาปนาขึ้นเปนสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี

(5) “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ” คือ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระมเหสีรอง

(6) “พระมเหสีรอง” คือ พระชายาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ที่ดำรงพระเกียรติยศรองลงมาจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีมีพระเกียรติยศสูงต่ำเปนลำดับกัน คือ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีพระนางเจ้าพระราชเทวี พระนางเธอ พระอัครชายาเธอ ดังนี้เปนต้น

(7) “พระเจ้าลูกยาเธอ” คือ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระสนมเอก โท ตรี

(8) คำว่า “พระองค์ใหญ่” ให้เข้าใจว่าพระองค์ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ ที่ร่วมพระมารดากัน

 

หมวดที่ 3 ว่าด้วยการทรงสมมุติและทรงถอนพระรัชทายาท

มาตรา 5 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ และพระราชสิทธิที่จะทรงสมมุติเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค ์ใดพระองค์หนึ่งให้เปนพระรัชทายาท สุดแท้แต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ว่า ท่านพระองค์นั้นจะสามารถสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์

แต่การที่สมมุติเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ให้เปนพระรัชทายาทเช่นนี้ ให้ถือว่าเปนการเฉพาะพระองค์ของพระรัชทายาทพระองค์นั้น

มาตรา 6 เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสมมุติท่านพระองค์ใดให้เปนพระรัชทายาทแล้ว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศข้อความให้ปรากฏแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชเสวกบริพาร และอาณาประชาชนให้ทราบทั่วกันแล้ว ท่านว่าให้ถือว่าท่านพระองค์นั้นเปนพระรัชทายาทโดยแน่นอนปราศจากปัญหาใด ๆ และเมื่อใดถึงกาลอันจำเปน ก็ให้พระรัชทายาทพระองค์นั้นเสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษโดยทันที ให้สมดังพระบรมราชประสงค์ที่ได้ทรงประกาศไว้นั้น

มาตรา 7 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสงวนไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและพระราชสิทธิที่จะทรงถอนพระรัชทายาทออกจากตำแหน่งได้ ท่านพระองค์ใดที่ได้ถูกถอนจากตำแหน่งพระรัชทายาทแล้ว ท่านว่าให้นับว่าขาดจากทางที่จะได้สืบราชสันตติวงศ์ และให้ถอนพระนามออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ อีกทั้งพระโอรสและบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ถอนเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น

อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและพระราช

สิทธิที่จะทรงประกาศยกเว้นเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ได้

 

หมวดที่ 4 ว่าด้วยลำดับชั้นผู้ควรสืบราชสันตติวงศ์

มาตรา 8 ถ้าหากว่ามีเหตุอันไม่พึงปรารถนา คือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลงโดยมิได้ทรงสมมุติพระรัชทายาทไว้ก่อน ท่านว่าให้เปนหน้าที่ท่านเสนาบดีอัญเชิญเสด็จเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับสืบพระราชสันตติวงศ์ ดังได้แถลงไว้ในมาตรา 9 ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ได้เสด็จสวรรคตลงแล้วนั้นต่อไป   แต่ผู้ที่จะอัญเชิญขึ้นทรงราชย์เช่นนี้ต้องมิใช่ผู้ที่ตกอยู่ในเกณฑ์ ยกเว้นที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้

มาตรา 9 ลำดับชั้นเชื้อพระบรมราชวงศ์ซึ่งจะควรสืบราชสันตติวงศ์ได้นั้น ท่านว่าให้เลือกตามสายตรงก่อนเสมอ ต่อไม่สามารถจะเลือกทางสายตรงได้แล้ว จึงให้เลือกตามเกณฑ์ที่สนิทมากและน้อย

เพื่อให้สิ้นสงสัย ท่านว่าให้วางลำดับสืบราชสันตติวงศ์ไว้ดังต่อไปนี้

(1) สมเด็จหน่อพุทธเจ้า

(2) ถ้าแม้ว่าสมเด็จหน่อพุทธเจ้าหาพระองค์ไม่แล้ว ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จหน่อพุทธเจ้าและพระอัครชายาของสมเด็จหน่อพุทธเจ้าพระองค์นั้นขึ้นทรงราชย์ หรือถ้าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่หาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์รอง ๆ ต่อไปตามลำดับพระชนมายุ

(3) ถ้าแม้ว่าสมเด็จหน่อพุทธเจ้าหาพระองค์ไม่แล้ว และไร้พระราชโอรสของท่านด้วย ก็ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอัครมเหสี

(4) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 หาพระองค์ไม่แล้ว แต่ถ้ามีพระโอรสอยู่ ก็ให้อัญเชิญพระโอรส โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 แห่งมาตรานี้

(5) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระอัครมเหสีหาพระองค์มิได้แล้ว และไร้พระราชโอรสของท่านด้วย ก็ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่น ๆ ในสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งมาตรานี้

(6) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระอัครมเหสีหาพระองค์ไม่แล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้วให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิสริยศแห่งพระมารดา หรือถ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหาพระองค์ไม่แล้วก็ให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ สลับกันตามลำดับโดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งมาตรานี้

(7) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองหาพระองค์ไม่สิ้นแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้วให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุด   หรือถ้าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นหาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น แต่ถ้าแม้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุดนั้นหาพระองค์ไม่แล้ว และพระโอรสของท่านก็หาไม่ด้วยแล้วก็ให้อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมา หรือพระโอรสของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งมาตรานี้

(8) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไร้พระราชโอรสและพระราชนัดดาท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์

(9) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระอนุชาพระองค์ที่ควรได้ทรงเปนทายาทนั้นหาพระองค์ไม่เสียแล้ว ท่านว่าให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้นตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 แห่งมาตรานี้

(10) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระอนุชาพระองค์ใหญ่หาพระองค์ไม่แล้ว และพระโอรสของท่านก็หาพระ องค์ไม่อีกด้วย ท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระชนนีพระองค์ที่ถัดลงมาตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แห่งมาตรานี้

(11) ถ้าแม้สมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีหาพระองค์ไม่สิ้นแล้วและพระโอรสของสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้ว ท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 6 แห่งมาตรานี้

(12) ถ้าแม้สมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนีก็หาพระองค์ไม่สิ้นแล้ว และโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้นก็หาไม่ด้วยแล้ว ท่านว่าให้อัญเชิญพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอหรือพระโอรสของพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอตามลำดับสลับกันโดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 7 แห่งมาตรานี้

(13) ต่อเมื่อหมดพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ อีกทั้งหมดพระโอรสของท่านนั้น ๆ แล้วไซร้ ท่านจึงให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอและพระเจ้าบรมว งศ์เธอ หรือพระโอรสและเชื้อสายของท่านพระองค์นั้นตามลำดับแห่งความสนิทมากและน้อย โดยอนุโลมตามข้อความที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 12 แห่งมาตรานี้

 

หมวดที่ 5 ว่าด้วยผู้ที่ต้องยกเว้นจากการสืบราชสันตติวงศ์

มาตรา 10   ท่านพระองค์ใดที่จะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ควรที่จะเปนผู้ที่มหาชนนับถือได้โดยเต็มที่ และเอาเปนที่พึ่งได้โดยความสุขใจ ฉะนั้นท่านพระองค์ใดมีข้อที่ชนหมู่มากเห็นว่าเปนที่น่ารังเกียจก็ควรที่จะให้พ้นเสียจากหนทางที่จะได้สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเปนเครื่องตัดความวิตกแห่งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และอาณาประชาชน

มาตรา 11 เจ้านายผู้เปนเชื้อพระบรมราชวงศ์ ถ้าแม้ว่าเปนผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ข้างล่างนี้ ท่านว่าให้ยกเว้นเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์

ลักษณะที่กล่าวนี้ คือ

(1) มีพระสัญญาวิปลาศ

(2) ต้องราชทัณฑ์เพราะ ประพฤติผิดพระราชกำหนดกฎหมายในคดีมหันตโทษ

(3) ไม่สามารถทรงเปนอัครพุทธศาสนูปถัมภก

(4) มีพระชายาเปนนางต่างด้าว กล่าวคือ นางที่มีสัญชาติเดิมเปนชาวประเทศอื่น นอกจากชาวไทยโดยแท้

(5) เปนผู้ที่ได้ถูกถอนออกแล้วจากตำแหน่งพระรัชทายาท ไม่ว่าการถูกถอนนี้จะได้เปนไปในรัชกาลใด ๆ

(6) เปนผู้ที่ได้ถูกประกาศยกเว้นออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์

มาตรา 12 ท่านพระองค์ใดตกอยู่ในเกณฑ์มีลักษณะบกพร่องดังกล่าวมาแล้วในมาตรา 11 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ ท่านว่าพระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น

มาตรา 13 ในกาลสมัยนี้ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เปนสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ ผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิ์ขาดอย่างพระเจ้าแผ่นดินโดยลำพังแห่งกรุงสยาม ฉะนั้นท่านห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใด ๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เปนอันขาด

 

หมวดที่ 6 ว่าด้วยเวลาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์

มาตรา 14   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ คือ เมื่อมีชนมายุยังไม่ครบ 20 พรรษาบริบูรณ์ ท่านว่ายังทรงสำเร็จราชการสิทธิ์ขาดโดยพระองค์เองหาได้ไม่

มาตรา 15 ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ดังกล่าวมาแล้วในมาตรา 14 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ ท่านว่าให้ท่านเสนาบดีพร้อมกันเลือกเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์หนึ่งขึ้นเปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมายุครบ   20 พรรษาบริบูรณ์ จึงให้ท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์นั้นพ้นจากหน้าที่

มาตรา 16 ท่านผู้ที่จะได้รับเลือกเปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวไว้ในมาตรา 15 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ต้องเปนผู้ที่มีพระชนมายุเกินกว่า 20 พรรษาบริบูรณ์แล้ว และต้องไม่ เปนผู้ที่มีลักษณะบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในมาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้

มาตรา 17 นอกจากผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านว่าให้ท่านเสนาบดีผู้มีอาวุโสมากที่สุดในราชการสองท่านเปนสมุหมนตรีที่ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และให้คงอยู่ในตำแหน่งนั้นตลอดเวลาที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินพระองค์นั้นอยู่ในตำแหน่งหน้าที่

ถ้าหากว่าสมุหมนตรีคนใดคนหนึ่ง ถึงอสัญกรรม ลงในระหว่างเวลาที่ยังคงต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านว่าให้ท่านเสนาบดี ผู้มีอาวุโสถัดลงมาอีกคนหนึ่งรับตำแหน่งสมุหมนตรีแทนท่านผู้ที่ถึงอสัญกรรมลงนั้นต่อไป

มาตรา 18 ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับท่านสมุหมนตรีอีกสอง รวมด้วยกันเปน สามนี้ ท่านว่าให้ขนานนามเรียกว่า “สภาสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” หรือเรียกโดยย่อว่า “สภาสำเร็จราชการแผ่นดิน”

กิจการทั้งปวงที่โดยปกติตกเปนพระราชภาระของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ตกเปนภาระของสภาสำเร็จราชการแผ่นดิน จนกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 20 พรรษาบริบูรณ์แล้ว จึงให้สภาสำเร็จราชการแผ่นดินมอบพระราชภาระถวายเพื่อทรงรับและปฏิบัติราชกรณียกิจต่อไปตามโบราณราชประเพณี

อนึ่ง ราชกิจที่นับว่าเปนการดำเนินตามระเบียบอันมีแบบแผนอยู่แล้วท่านว่าให้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบัญชาสั่งและลงพระนามโดยลำพังได้ แต่ราชการใดเปนเรื่องที่มีปัญหาโต้แย้งก็ดี เกี่ยวด้วยเปลี่ยนแปลงหลักแห่งรัฐประศาสโนบายก็ดี เกี่ยวด้วยการออกพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขพระราชกำหนดกฎหมายที่มีอยู่แล้วก็ดี ท่านว่าต้องให้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปนผู้ลงพระนามในคำสั่ง และให้สมุหมนตรีทั้งสองท่านลงนามกำกับด้วยจึงจะใช้ได้

 

หมวดที่ 7 ว่าด้วยการแก้กฎมณเฑียรบาลนี้

มาตรา 19 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลนี้ไว้ให้เปนราชนิติธรรมอันมั่นคง เพื่อดำรงพระบรมราชจักรีวงศ์ไว้ชั่วกาลนาน และได้ทรงใช้พระวิจารณญานโดยสุขุม ประชุมทั้งโบราณราชประเพณีแห่งกรุงสยามตามที่ได้เคยมีปรากฏมาในโบราณราชประวัติ ทั้งประเพณีตามที่โลกนิยมในสมัยนี้เข้าไว้พร้อมแล้ว ฉะนั้นหากว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดในอนาคตสมัยทรงพระราชดำริจะแก้ไขหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดแห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ ก็ให้ทรงคำนึงถึงพระอุปการะคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลนี้ขึ้นไว้แล้ว และทรงปฏิบัติตามข้อความในมาตรา 20 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้เถิด

มาตรา 20 ถ้าแม้เมื่อใดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่ามีเหตุจำเปนที่จะต้องแก้ไขหรือเพิกถอนข้อความใด ๆ แม้แต่ส่วนน้อยหนึ่งในกฎมณเฑียรบาลนี้ ท่านว่าให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนัดประชุมองคมนตรีสภา ให้มีองคมนตรีมาในที่ประชุมนั้นไม่น้อยกว่า 2 ส่วนใน 3 แห่งจำนวนองคมนตรีทั้งหมดแล้ว และพระราชทานข้อความอันมีพระราชประสงค์จะให้แก้ไขหรือเพิกถอนนั้นให้สภาปรึกษากันและถวายความเห็นด้วยความจงรักภักดีซื่อสัตย์สุจริต ถ้าองคมนตรีมีจำนวนถึง 2 ส่วนใน 3 แห่งผู้ที่มาประชุมนั้นลงความเห็นว่าควรแก้ไขหรือเพิกถอนตามพระราชประสงค์ได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงค่อยมีพระบรมราชโองการให้แก้ไขหรือเพิกถอน แต่ถ้าแม้ว่าองคมนตรีที่มาประชุมนั้นมีผู้เห็นควรให้แก้ไขหรือเพิกถอนเปนจำนวนไม่ถึง 2 ใน 3 แล้ว ก็ขอให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระขันติระงับพระราชดำริที่จะทรงแก้ไขหรือเพิกถอนนั้นไว้เถิด

 

หมวดที่ 8 ว่าด้วยผู้เปนหน้าที่รักษากฎมณเฑียรบาลนี้

มาตรา 21 ให้เสนาบดีกระทรวงวังเปนหน้าที่รักษากฎมณเฑียรบาลนี้ให้เปนไปสมพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลนี้ขึ้นไว้นั้น จงทุกประการฯ

 

1. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์

กฎมณเฑียรบาล

ว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมว่าการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ตามธรรมดาได้ทรงทราบและได้

พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์โดยสมควรแก่พระเกียรติยศ   แต่ก็มีบางรายที่มิได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อน โดยเกรงว่าจะเปนการรบกวนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทบ้าง โดยเหตุอื่นบ้าง บางรายได้ทรงทราบว่าการได้เปนไปโดยไม่สมควรแก่พระเกียรติยศฯ มีพระราชประสงค์จะอุปถัมภ์บำรุงพระบรมราชตระกูลไว้ให้สูงศักดิ์ กับทั้งจะแสดงให้พระราชวงศ์ทรงทราบว่า มีพระราชหฤทัยประสงค์จะพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่พระราชวงศ์ให้ทั่วถึงกัน   จึงพระราชดำรัสสั่งเฉพาะเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี     เสนาบดีกระทรวงวังให้ประกาศเปนกฎมณเฑียรบาลไว้ว่า

  1. ตั้งแต่นี้ต่อไป เจ้านายในพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปจะทำการเสกสมรสกับผู้ใด ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงจะกระทำการพิธีนั้นได้
  2. ที่ ๆ จะทำการพิธีเสกสมรสต้องเปนที่สมควรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานน้ำสังข์ได้ จะได้ทรงกำหนดตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร
  3. ถ้าผู้ใดทำฝ่าฝืนไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าได้ทำผิดฐานละเมิดต่อพระองค์ผู้ทรงเปนกุลเชษฐใน     พระราชวงศ์

ประกาศมา ณ วันที่ 10 มิถุนายน พระพุทธศักราช 2461

 

 

 

Previous
Next กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475
Tags: 20192562กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์กฏหมาย
ShareTweetShare
ADVERTISEMENT
กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่จัดทำขึ้นนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกระทำความผิด และมีมุมมองที่ว่า "กฎหมาย...ไม่วุ่นวายอย่างที่คิด" เพราะที่ผ่านมาเมื่อได้ยินคำว่ากฏหมาย คนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากจนไม่อยากเรียนรู้ แต่ความเป็นจริงแล้วการใช้ชีวิตของทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยไม่รู้ตัวและกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราเป็นอย่างมาก

Related Posts

รวบแก๊งทวงหนี้ หลัง ข่มขู่แม่บ้านที่ติดหนี้ จนไปผูกคอตาย  
ข่าว

รวบแก๊งทวงหนี้ หลัง ข่มขู่แม่บ้านที่ติดหนี้ จนไปผูกคอตาย

กุมภาพันธ์ 24, 2021
พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ 34 นายทหารราชองครักษ์ นายตำรวจราชองครักษ์
ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา

พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ 34 นายทหารราชองครักษ์ นายตำรวจราชองครักษ์ – pptvhd36.com

กุมภาพันธ์ 24, 2021
ราชกิจจานุเบกษา
ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์-นายตำรวจราชองครักษ์ จำนวน 34 นาย – ข่าวสด

กุมภาพันธ์ 24, 2021
dFQROr7oWzulq5Fa4VaFTjeSp1mLfRNpo5E8IaiyjFVOpby03gg1xp7dOpA20pEL7Kr.jpg
ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหาร-นายตำรวจราชองครักษ์ 34 นาย – ไทยรัฐ

กุมภาพันธ์ 24, 2021
image_big_602fcb5d67f6e.jpg
ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา

โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ และนายตำรวจราชองครักษ์ จำนวน 34 ราย – ไทยโพสต์

กุมภาพันธ์ 24, 2021
e63403eda33a818c988c98741849edb0a7d9bdecb481f25e94dd810efc9cb784.jpg
ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา

“พรเพชร”โวผลงานวุฒิสภาประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 2 ผ่านกม.8 ฉบับ 48 กระทู้ รายงานกมธ.38 ฉบับ

กุมภาพันธ์ 24, 2021
Load More
Next Post

กฎบัตรสหประชาชาติ

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของกฎหมาย

9 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชน

By Categories

  • กฏหมายควรรู้ (552)
    • Infographic (98)
    • กฏหมายจราจร (44)
    • กฏหมายทั่วไป (188)
    • กฏหมายลิขสิทธิ์ (5)
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (4)
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี (61)
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง (38)
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่ (59)
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน (8)
    • กฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจ (2)
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน (12)
    • กฏหมายแรงงาน (8)
  • ข่าว (248)
  • คำพิพากษา (12)
    • คำพิพากษาศาลฎีกา (12)
  • ตัวบทกฏหมาย (621)
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา (16)
    • พระราชกำหนด (1)
    • พระราชบัญญัติ (33)
  • บทความ (20)
    • ราชทัณฑ์ (1)
  • ผู้ต้องขัง (2)
  • วีดีโอ (26)
    • ยุติธรรม (2)
    • ราชทัณฑ์ (24)
  • หน่วยงานราชการ (95)

เรื่องล่าสุด

  • “อัศวิน ขวัญเมือง” ไม่ได้ไปต่อ แต่ !! กรุงเทพต้องไปต่อ
  • ไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.2565 เสียสิทธิอะไรบ้าง แค่คลิกเดียวจบ
  • “ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศแล้ว เกณฑ์ผ่อนชำระ ค่าสินไหมทดแทน “เจอ จ่าย จบ”
  • มีผลตั้งแต่พรุ่งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
  • ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศ กกต. ‘พรรคก้าวใหม่’สิ้นสภาพเป็นพรรคการเมือง
กฏหมาย ศาล อัยการ ทนาย คุก

เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นเว็บที่ได้รวบรวมเอา ข้อมูล ทางด้าน กฏหมาย ของไทยมาไว้ด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การค้นหาข้อมูล ข้อมูลกฏหมายไทยนี้ เหมาะสำหรับทุกคนที่ สนใจใน กฏหมายไทย

ผิดพลาดพรั้งไป ขออภัยในความไม่สะดวก ติ/ชม แนะนำข้อมูลได้ที่หน้า ติดต่อเรา ได้ครับ

กฏหมายไทย / Thailand Law

  • “อัศวิน ขวัญเมือง” ไม่ได้ไปต่อ แต่ !! กรุงเทพต้องไปต่อ
  • ไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.2565 เสียสิทธิอะไรบ้าง แค่คลิกเดียวจบ
  • “ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศแล้ว เกณฑ์ผ่อนชำระ ค่าสินไหมทดแทน “เจอ จ่าย จบ”
  • มีผลตั้งแต่พรุ่งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
  • ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศ กกต. ‘พรรคก้าวใหม่’สิ้นสภาพเป็นพรรคการเมือง

Social Network

คำนิยม

110 ปี190219091913191419161918192119231926192819291930193119321933193419351936
  • Help
  • Privacy Policy
  • About
  • Contact

© 2020 Thailand Law กฏหมายเพื่อประชาชน สงวนลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด.

No Result
View All Result
  • Home
  • ตัวบทกฏหมาย
    • ประมวลกฏหมายไทย
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกฤษฎีกา
    • พระราชกำหนด
    • รัฐธรรมนูญ
    • ประมวลรัษฎากร
    • กฎมณเฑียรบาล
    • ข้อบังคับ ระเบียบ และอนุสัญญา
  • กฏหมายควรรู้
    • กฏหมายทั่วไป
    • กฏหมายจราจร
    • กฏหมายเด็กและเยาวชน
    • กฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
    • กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
    • กฏหมายเกี่ยวกับการเช่า-เซ้ง
    • กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตคู่
    • กฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • Infographic
  • ข่าว
  • ทนาย
  • ผู้ต้องขัง
  • บทความ
  • หน่วยงานราชการ
  • วีดีโอ
    • ราชทัณฑ์
    • ยุติธรรม
  • Contact

© 2020 Thailand Law กฏหมายเพื่อประชาชน สงวนลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด.

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Create New Account!

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
We use cookies on our website to give you the most relevant experience by remembering your preferences and repeat visits. By clicking “Accept All”, you consent to the use of ALL the cookies. However, you may visit "Cookie Settings" to provide a controlled consent.
Cookie SettingsAccept All
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policy11 monthsThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
SAVE & ACCEPT
error: Content is protected !!
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.