เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบ “การเยี่ยมผู้ต้องขัง รูปแบบใหม่” ยกเลิกระเบียบเก่า
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. 2561
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมการติดต่อผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการ หรือติดต่อการงานกับเรือนจำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานของเรือนจำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ มาตรา ๖๐ และมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. ๒๕๖๑”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเยี่ยมการติดต่อของบุคคลภายนอกต่อผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ หรือหนังสือสั่งการอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ รวมตลอดถึงการออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมหรือติดต่อผู้ต้องขัง
ข้อ ๖ บุคคลภายนอกจะเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังได้ ดังนี้
(๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจ า
ในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการ
ที่ปรากฏภาพถ่ายไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ และให้เจ้าพนักงานเรือนจำจดบันทึกข้อมูล
บุคคลภายนอกผู้เข้าเยี่ยมหรือติดต่อไว้เป็นหลักฐาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขัง
กิจธุระ หรือประโยชน์ในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังนั้น
(๒) เฉพาะผู้ต้องขังที่ได้รับโอกาสให้ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อจากบุคคลภายนอก
(๓) ต้องเข้าเยี่ยมหรือติดต่อในวันและเวลาตามที่เรือนจำได้กำหนดไว้
หากมีเหตุพิเศษจำเป็นต้องพบผู้ต้องขังนอกวันและเวลาที่กำหนด ให้ขออนุญาตต่อผู้บัญชาการเรือนจำ แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่เรือนจำได้นำผู้ต้องขังเข้าห้องขังแล้ว และยังมิได้นำ ออกจากห้องขัง เว้นแต่ผู้บัญชาการเรือนจำเห็นเป็นการจำเป็นที่สมควรจะอนุญาต
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ด้านการควบคุมหรือความมั่นคงของเรือนจำ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำกำหนดให้ผู้ต้องขังแจ้งรายชื่อบุคคลภายนอกที่จะให้เข้ามาพบหรือติดต่อกับตนภายในเรือนจำไว้ล่วงหน้า รายชื่อบุคคลภายนอกนั้นให้มีจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน และหากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ให้สามารถ ดำเนินการได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ในกรณีมีเหตุพิเศษ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจพิจารณาอนุญาตให้บุคคลภายนอกนอกเหนือจาก ที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคก่อน เข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังก็ได้
ข้อ ๘ ห้ามมิให้บุคคลภายนอกที่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง
(๑) มีอาการมึนเมาหรือเมาสุราน่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญหรือความไม่เรียบร้อย
(๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้าอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังแล้วจะก่อการร้ายหรือกระทำผิดกฎหมายขึ้น
(๓) มีพฤติการณ์ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของเรือนจำ
(๔) แต่งกายผิดปกตินิยมในท้องถิ่น หรือไม่สุภาพ หรือสกปรกอย่างร้ายแรง
(๕) มีกิริยาวาจาไม่สุภาพ
(๖) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(๗) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งปฏิบัติการโดยชอบด้วยหน้าที่
ข้อ ๙ บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้
(๑) อยู่ในเขตที่เรือนจำกำหนดให้เป็นที่เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง
(๒) ไม่กระทำด้วยประการใด ๆ ให้สิ่งของเข้ามาหรือให้ออกไปจากเรือนจำ หรือรับจากหรือส่งมอบแก่ผู้ต้องขัง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเรือนจำกรณีที่ประสงค์จะมอบเงินตราให้กับผู้ต้องขัง ให้นำฝากไว้กับเจ้าพนักงานเรือนจำที่ทางเรือนจำจัดไว้ให้เพื่อการนั้น หรือวิธีการอื่น ที่กรมราชทัณฑ์กำหนด
(๓) ไม่แนะนำชักชวนแสดงกิริยาหรือให้อาณัติสัญญาณอย่างใด ๆ แก่ผู้ต้องขังเพื่อกระทำผิด กฎหมายหรือวินัยผู้ต้องขัง และไม่เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับผู้ต้องขังเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการราชทัณฑ์
(๔) พูดภาษาไทยและออกเสียงให้ดังพอที่เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ควบคุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยิน จะพูดภาษาอื่นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเรือนจำ
(๕) ยินยอมให้เจ้าพนักงานเรือนจำฟังการสนทนา บันทึกภาพหรือเสียงและตัดการสื่อสาร หากเห็นว่าข้อความที่สนทนาเป็นไปโดยไม่เหมาะสมในกรณีที่เรือนจำจัดให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง โดยการพูดคุยผ่านเครื่องมือสื่อสาร
(๖) ไม่ถ่ายภาพหรือเขียนภาพเกี่ยวกับผู้ต้องขังหรือเรือนจำหรือเขียนแบบแปลนหรือแผนที่เรือนจำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์และแจ้งให้ผู้บัญชาการเรือนจำทราบก่อนแล้ว
(๗) ไม่ใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด ในขณะเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง
(๘) ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับเรือนจ า และค าสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งปฏิบัติการ โดยชอบด้วยหน้าที่
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลภายนอกที่จะมาขออนุญาตหรือได้รับอนุญาต ให้เยี่ยมหรือติดต่อแล้วมีสิ่งของที่ยังไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๙ (๒) หรือสิ่งของต้องห้ามตามกฎหมาย
ว่าด้วยการราชทัณฑ์ เจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจขอดูหรือขอตรวจค้นได้ หากบุคคลภายนอกนั้นเป็นชายให้เจ้าพนักงานเรือนจำชายเป็นผู้ทำการตรวจค้น หากเป็นหญิงให้เจ้าพนักงานเรือนจำหญิง เป็นผู้ทำการตรวจค้น หรือให้ผู้นั้นแสดงเองหรือจัดให้ชายหรือหญิงอื่นที่ควรเชื่อถือทำการตรวจค้นแทนก็ได้
ข้อ ๑๑ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง ได้กระทำผิดระเบียบนี้ เจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจดำเนินการให้ออกไปจากบริเวณเรือนจำ ทั้งนี้ หากมีการขัดขืนเจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจใช้กำลังพอสมควรที่จะให้ออกไปพ้นจากเรือนจำได้
หมวด ๒ ทนายความเข้าพบผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี
ข้อ ๑๒ ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความที่จะขอเข้าพบผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี จะต้องเป็น ทนายความที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ และจะพบกับผู้ต้องขังได้ เฉพาะทนายความที่ผู้ต้องขังต้องการพบเท่านั้น
ผู้ต้องขังที่ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความจะขอเข้าพบตามวรรคหนึ่งต้องเป็นผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดีอาญา เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ ๑๖
ข้อ ๑๓ ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ จะต้องยื่นคาร้องขอพบผู้ต้องขังตามแบบ คาร้องที่กรมราชทัณฑ์กำหนด
ในกรณีที่ทนายความยื่นคาร้องขอพบผู้ต้องขัง ประสงค์จะนาล่ามเข้าพบผู้ต้องขังด้วย เนื่องจากผู้ต้องขังเป็นชาวต่างประเทศ หรือเป็นชาวไทยใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจ ภาษาไทยได้ หรือผู้ต้องขังไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ ให้แสดงบัตรปร ะจาตัว ประชาชนหรือบัตรที่ออกโดยทางราชการที่ปรากฏภาพถ่ายหรือหนังสือเดินทางของล่ามประกอบคาร้องขอ เข้าพบผู้ต้องขัง และให้ผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา อนุญาตตามสมควร
หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อเจ้าพนักงานเรือนจำว่าล่ามที่ได้รับอนุญาตตามวรรคก่อนได้แสดง หลักฐานหรือข้อความอันเป็นเท็จหรือกระทาผิดระเบียบนี้ ให้เจ้าพนักงานเรือนจำจดบันทึกข้อมูล หน้า ๕ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ในการกระทาความผิดไว้เป็นหลักฐาน และมีอำนาจดาเนินการให้ออกจากบริเวณเรือนจำได้ และ ไม่อนุญาตให้เข้าเรือนจำในฐานะล่ามอีกต่อไป
เรือนจำที่ได้รับคาร้องให้แจ้งผู้ต้องขังได้ทราบข้อความตามคาร้อง เพื่อแจ้งความประสงค์ และเหตุผลว่าจะพบทนายความนั้นหรือไม่
เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำมีความเห็นในคาร้อง เป็นประการใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานเรือนจำแจ้งความเห็นหรือคาสั่งนั้น ให้ทนายความลงลายมือชื่อ รับทราบด้วย
ข้อ ๑๔ ทนายความหรือผู้จะเป็นทนายความรายใดที่จะขอเข้าพบผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่าง สอบสวนหรือไต่สวนมูลฟ้องให้ทนายความรายนั้นยื่นสาเนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมาย ว่าด้วยทนายความ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบคาร้องขอพบผู้ต้องขังภายในเรือนจำด้วย
สำหรับทนายความรายใดที่ผู้ต้องขังได้แต่งตั้งและคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว ทนายความรายนั้นต้องยื่นสาเนาใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ในสานวนคดีให้เป็นทนายความ ของผู้ต้องขัง ประกอบคาร้องขอพบผู้ต้องขังภายในเรือนจำด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ต้องขังยังไม่แต่งตั้ง ทนายความ
ในกรณีมีเหตุพิเศษอันเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งทนายความ เช่น การถอนตัวของทนายความ การเสียชีวิตของทนายความ หรือการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นใหม่ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจพิจารณาอนุญาต ให้ทนายความเข้าพบผู้ต้องขังโดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายความหรือใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ใน สานวนคดี ให้เป็นทนายความของผู้ต้องขังนั้นมาแสดงก็ได้
ข้อ ๑๕ ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบผู้ต้องขัง ต้องพบหรือติดต่อกับผู้ต้องขังคราวละ หนึ่งคน เว้นแต่การพบผู้ต้องขังซึ่งเป็นผู้ต้องหาร่วมหรือจาเลยร่วมในคดีเดียวกัน และการพบนั้นเป็นไป เพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาคดี จะให้พบผู้ต้องขังมากกว่าหนึ่งคนก็ได้
ข้อ ๑๖ ทนายความที่ประสงค์จะขอเข้าพบผู้ต้องขังซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ให้ทนายความผู้นั้นดาเนินการตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ทนายความสามารถเข้าพบผู้ต้องขังได้ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๕.๓๐ นาฬิกา ของวันราชการ
หากมีเหตุพิเศษจาเป็นต้องพบผู้ต้องขังนอกวันเวลาในวรรคก่อนให้ขออนุญาตต่อผู้บัญชาการเรือนจำ แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่เรือนจำได้นาผู้ต้องขังเข้าห้องขังแล้วและยังมิได้นาออกจากห้องขัง เว้นแต่ ผู้บัญชาการเรือนจำเห็นเป็นการจาเป็นที่สมควรจะอนุญาต
ข้อ ๑๘ ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้พบผู้ต้องขังหากต้องการจะสงวนข้อความที่พูดกับ ผู้ต้องขังเป็นความลับให้แจ้งเจ้าพนักงานเรือนจำทราบ และให้เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ควบคุมอยู่ในระยะ ที่ไม่สามารถได้ยินข้อความการสนทนา หน้า ๖ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ข้อ ๑๙ ให้นาความในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับกรณีทนายความที่เข้าพบผู้ต้องขังเท่าที่พอจะบังคับได้ โดยอนุโลม
หมวด ๓ เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง
ข้อ ๒๐ เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในสังกัดได้ต่อเมื่อได้รับ อนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำ
ข้อ ๒๑ เจ้าหน้าที่สถานทูตและพนักงานกงสุลผู้ได้รับอนุญาต จะต้องแต่งกายและมีกิริยา อันสุภาพทั้งไม่ออกไปนอกเขตที่ทางเรือนจำกาหนดให้
ข้อ ๒๒ ให้นาความในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับกรณีเจ้าหน้าที่สถานทูตหรือพนักงานกงสุล เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังเท่าที่พอจะบังคับได้โดยอนุโลม
หมวด ๔ การเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย
ข้อ ๒๓ ผู้ต้องขังคนใดที่เจ็บป่วยอาการหนักและได้รับการรักษาตัวอยู่ในทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลของเรือนจำ หากผู้อานวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำจะอนุญาตให้ผู้ต้องขังนั้นได้รับ การเยี่ยมจากญาติภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลของเรือนจำก็ได้แล้วแต่กรณี โดยพิจารณาจากรายงานของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลประจาสถานพยาบาลนั้น
ข้อ ๒๔ ให้มีการเยี่ยมผู้ต้องขังป่วยในระหว่างวันและเวลาราชการตามปกติโดยให้จัดเยี่ยม ในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลของเรือนจำหรือสถานที่อื่นใดอันสมควร แต่ต้องเป็นสถานที่ที่ญาติและผู้ต้องขังได้สนทนากันอย่างใกล้ชิดและเยี่ยมได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ นาที
ข้อ ๒๕ บุคคลต่อไปนี้เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย
(๑) บิดามารดาปู่ย่าตายาย
(๒) สามีหรือภริยา
(๓) บุตรหรือหลาน
(๔) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๕) ลุง ป้า น้า อา
(๖) บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือผู้ที่ผู้ต้องขังป่วยร้องขอ
ข้อ ๒๖ ให้นาความในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับกรณีการเยี่ยมผู้ต้องขังป่วยเท่าที่พอจะบังคับได้ โดยอนุโลม หน้า ๗ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
หมวด ๕ บุคคลภายนอกเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ
ข้อ ๒๗ บุคคลภายนอกจะเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต จากผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำ
ข้อ ๒๘ บุคคลภายนอกที่จะเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้
(๑) แต่งกายและมีกิริยาอันสุภาพ
(๒) ไม่พูดจากับผู้ต้องขัง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเรือนจำ
(๓) ต้องเข้าดูแต่ภายในอาณาเขตและกาหนดเวลาที่ทางเรือนจำกาหนดให้ไว้
ข้อ ๒๙ บุคคลภายนอกที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำในคราวหนึ่ง จะมีจานวนเท่าใดให้ผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา ตามความจาเป็นและเหมาะสมแก่สภาพการณ์ของเรือนจำ
ข้อ ๓๐ ให้นาความในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับกรณีบุคคลภายนอกเข้าดูกิจการหรือติดต่อ การงานกับเรือนจำเท่าที่พอจะบังคับได้โดยอนุโลม
หมวด ๖ การเยี่ยมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๓๑ เรือนจำอาจนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบและเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินการ การเยี่ยม การติดต่อ ของบุคคลภายนอกต่อผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำตามระเบียบนี้ก็ได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ตามที่กรมราชทัณฑ์กาหนด
หมวด ๗ การรับฝากสิ่งของจากบุคคลภายนอกให้แก่ผู้ต้องขัง
ข้อ ๓๒ การจะให้มีการรับหรืองดรับฝากสิ่งของจากบุคคลภายนอกให้แก่ผู้ต้องขังในแต่ละเรือนจำ ให้เป็นไปตามประกาศกรมราชทัณฑ์
ข้อ ๓๓ การรับฝากสิ่งของจากบุคคลภายนอกให้แก่ผู้ต้องขัง ต้องให้เจ้าพนักงานเรือนจำตรวจก่อน และดาเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเป็น “สิ่งของอนุญาต” ให้เจ้าพนักงานเรือนจำส่งมอบแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่มีปริมาณ มากเกินความจาเป็น เจ้าพนักงานเรือนจำจะส่งมอบแก่ผู้ต้องขังพอประมาณตามควา มจาเป็นก็ได้ นอกนั้นให้ส่งมอบแก่บุคคลภายนอกผู้ฝากรับคืนไป หน้า ๘ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
(๒) ถ้าเป็นสิ่งของซึ่งมิใช่ “สิ่งของต้องห้าม” หรือมิใช่เป็น “สิ่งของอนุญาต” แต่เป็นสิ่งของ ที่ทางเรือนจำผ่อนผันยอมเก็บรักษาไว้ให้แก่ผู้ต้องขังเจ้าพนักงานเรือนจำจะรับเก็บรักษาไว้ให้แก่ผู้ต้องขังก็ได้ ถ้าไม่สามารถจะเก็บรักษาไว้ให้แก่ผู้ต้องขังได้ให้ส่งมอบสิ่งของนั้นคืนแก่บุคคลภายนอกผู้ฝาก หากไม่รับคืนให้เจ้าพนักงานเรือนจำนาเอาออกไปไว้นอกเรือนจำ และในกรณีนี้เจ้าพนักงานเรือนจำ และเรือนจำ จะไม่รับผิดชอบในสิ่งของนั้นแต่อย่างใด
สิ่งของที่ไม่ผ่านการตรวจค้นของเจ้าพนักงานเรือนจำห้ามส่งมอบให้ผู้ต้องขังโดยเด็ดขาด
ข้อ ๓๔ กรณีการส่งมอบสิ่งของหรือการให้นาเอาสิ่งของออกไปจากเรือนจำหรือการงดรับฝาก สิ่งของตามข้อก่อนเจ้าพนักงานเรือนจำจะต้องชี้แจงเหตุผลให้บุคคลภายนอกผู้ฝากทราบด้วย
หมวด ๘ อำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ข้อ ๓๕ ในกรณีมีผู้มาติดต่อขอเยี่ยมผู้ต้องขัง หรือติดต่อการงานของเรือนจำ และอธิบดี กรมราชทัณฑ์เห็นเป็นการสมควรจะอนุญาตให้ผู้นั้นเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังหรือติดต่อการงานของเรือนจำใดก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พันตารวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์
อธิบดีกรมราชทัณฑ์