วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2024

ข้องใจ ‘ณัฏฐพล’ เซ็นตั้ง20 สพม. สวนทางปฏิรูป-ไม่เพิ่มคุณภาพผู้เรียน

ADVERTISEMENT

ข้องใจ ‘ณัฏฐพล’ เซ็นตั้ง20 สพม. สวนทางปฏิรูปไม่เพิ่มคุณภาพผู้เรียน 

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้ากรณีที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามในหนังสือให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับเพิ่มโครงสร้างหน่วยงานในส่วนภูมิภาค โดยเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) อีก 20 เขต จากเดิมที่มีอยู่ 42 เขต รวมเป็น 62 เขต เพื่อให้การทำงานคล่องตัว และสอดรับกับการพัฒนาโรงเรียนดีสี่มุมเมือง นั้น ระหว่างที่รอการจัดตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นัดหารือกับผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมทั้งเรื่องสถานที่ และระบบบริหารจัดการ โดยหากการเพิ่มสพม.มีผลอย่างเป็นทางการเมื่อไร ก็พร้อมดำเนินการทันที เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาแน่นอน


นายสมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา อดีตอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเพิ่มสพม. ถือเป็นโยบาที่สวนทางกับการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ทั้งที่ควรทำให้โครงสร้างและระบบการทำงานเล็กลง เพื่อให้การทำงานที่ความคล่องตัว ทำให้คนในวงการศึกษา มีความเคลือบแคลงในตัวนายณัฏฐพล เป็นอย่างมาก จากเดิมที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว แต่พอมีผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มใหญ่เข้าพบ ก็เกิดเปลี่ยนใจ ทำเหมือนปากกับใจไม่ตรงกัน


“ผมอยากให้นายณัฏฐพล ดูประวัติศาสตร์ อย่างการเพิ่มศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะดึงคนไปจากเขตพื้นที่ฯ จำนวนมาก อีกทั้งยังทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งปัญหาทั้งหมดยังไม่ทันได้รับการแก้ไข แต่กลับเพิ่มสพม. เข้ามาอีก เรื่องนี้ผมไม่เห็นด้วย100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในช่วงการแพระระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-10 ยิ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าทำ เพราะไม่มีใครได้ประโยชน์นอกจากข้าราชการกลุ่มเล็ก ๆ ที่สำคัญยังย้อนแย้งกับหลักการปฏิรูปการศึกษาที่ควรจะทำให้ระบบราชการเล็กลง อีกทั้งยังไม่เห็นว่า การเพิ่มสพม.จะทำให้เกิดคุณภาพในการจัดการศึกษาตรงไหน ผิดหลักการเดินหน้ายุบรวม ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กแต่กลับเพิ่มสพม. ผมยังไม่เห็นข้อดี หากยกเลิกได้ก็ควรยกเลิก ครั้งนี้นายณัฏฐพล ตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ ทำให้คนในแวดวงการศึกษาหลายคนถึงขั้นส่ายหน้า ”นายสมพงษ์กล่าว


นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีหลายเรื่องสำคัญที่ศธ. ควรเร่งดำเนินการ แทนที่จะเพิ่มสพม. อย่างเช่น การแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าหลังตามข้อเรียนร้องของกลุ่มนักเรียน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเพิ่มสพม.ครั้งนี้ไม่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับและ ไม่เห็นประโยชน์ด้านอื่น นอกจาก เรื่องการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย อีกทั้งหากอนาคตมี ใครจะเข้ามาแก้ปัญหาโครงสร้างที่ขยายใหญ่ขึ้น

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก



Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

ADVERTISEMENT
กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

กฏหมาย กฤษฎีกา พรบ. กฏกระทรวง ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจ

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่จัดทำขึ้นนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกระทำความผิด และมีมุมมองที่ว่า "กฎหมาย...ไม่วุ่นวายอย่างที่คิด" เพราะที่ผ่านมาเมื่อได้ยินคำว่ากฏหมาย คนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากจนไม่อยากเรียนรู้ แต่ความเป็นจริงแล้วการใช้ชีวิตของทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยไม่รู้ตัวและกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราเป็นอย่างมาก

Related Posts

Next Post

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

error: Content is protected !!